วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Chúc Mừng Năm Mới (จุ๊กหมึ่งนัมเหมย) --- สวัสดีปีใหม่แบบเวียดนามค่ะ

เทศกาล "เต้ด" และบรรยากาศเคาท์ดาวที่เวียดนาม
Chúc Mừng Năm Mới (จุ๊กหมึ่งนัมเหมย) --- สวัสดีปีใหม่แบบเวียดนามค่ะ


ช่วงตรุษจีนแบบนี้ใครไปเวียดนามได้เจอบรรยากาศคึกคักแน่นอน ในภาพเป็นเมื่อคืนนี้ ที่จตุรัสโฮจิมินห์ (ตรงลานที่มีลุงโฮยืนทักทาย) ในเมืองโฮจิมินห์ค่ะ
คำอวยพร
Năm hết Tết đến
(นัม เฮ้ด เต๊ด เด๊น)
ปีเก่าไปปีใหม่มา
kính chúc mọi người thật nhiều sức khoẻ,
(กิ๊ญ จุ๊ก หม่อย เหงื่อย เถิ่ด เหญี่ยว ซึ๊ก แขว๋ะ)
ขออวยพรให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง
miệng cười vui vẻ,
(เหมี่ยง เกื่อย วุย แหว๋)
ยิ้มแย้มแจ่มใส
tiền vào mạnh mẽ,
(เตี่ยน หว่าว แหม่ง แม๋)
เงินทองไหลมาเทมา
cái gì cũng được suôn sẻ,
(ก๊าย สยี่ กู๋ง เดื่อก ซวน แส๋)
ทุกสิ่งราบรื่น
để sống tiếp một cuộc đời thật là đẹp đẽ.
(เด่ โส๊ง เตี๊ยบ โหมด ก่วก เด่ย เถิด หล่า แด่บ แด๋)
เป็นสุขชื่นมื่นยืนนาน

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

็็Hoi An ฮอยอัน หรือ โห่ยอาน มรดกโลก เวียตนามกลาง

ฮอยอัน.......ฉันรักเธอ

ฮอยอัน หรือ โห่ยอาน ในภาษาเวียตนาม เป็นเมืองขนาดเล็กริมฝั่งทะเลจีนใต้ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยของอาณาจักรจามปา บริเวณนี้เคยเป็นเมืองท่าบนปากแม่น้ำทูโบน ซึ่งมีชื่อว่า ไฮโฟ โดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีชาวต่างชาติมาตั้งถิ่นฐานและค้าขายในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ และอินเดีย เดิมทีเมืองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองสายหนึ่งคั่นอยู่กลางเมือง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นที่อีกฝั่งหนึ่งของคลอง ตัวสะพานสร้างโดยชาวญี่ปุ่น มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ในปี พ.ศ. 2542 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอันให้เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลว่าเป็นตัวอย่างของเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ที่มีการผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งของท้องถิ่นและของต่างชาติไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ และอาคารต่างๆภายในเมืองได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี
ทุกวันนี้ ฮอยอันยังคงเป็นเมืองขนาดเล็กเช่นเดิม แต่ก็มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเป็นจำนวนมาก ผู้มาเยือนมักมาเยี่ยมชมบ้านเรือนเก่าสีเหลืองน่ารักๆ ศาลเจ้าเก่า บ้านตระกูลคหบดี อีกทั้งร้านค้าขายผลงานทางศิลปะและหัตถกรรม ช่วงเวลาที่ฮอยอันน่าหลงใหลที่สุดคือยามเย็นริมฝั่งแม่น้ำมีร้านขายของที่ระลึก คาเฟ่ชิคๆ บาร์เก๋ๆ และร้านอาหารเปิดเรียงรายอยู่มากมายซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าใช้บริการ สีสันยามค่ำคืนของฮอยอันถูกแต่งแต้มด้วยสีสันจากโคมไฟจากร้านขายของที่ระลึก เพราะโคมไฟฮอยอันคือของที่ระบึกแสนขึ้นชื่อจากเมืองนี้
แต่น่าเสียดายที่ คนไทยส่วนมากมักไปเที่ยวฮอยอันเป็น Day Trip แล้วกลับไปนอนที่ดานัง แต่ลำไยทัวร์ไม่มีพลาดจุดนี้ เพราะตองอยากให้ทุกคนได้เห็นฮอยอันในช่วงเวลาที่สวยที่สุด คืนแรกของทริปเวียตนาม เราตะนอนค้างกันที่ฮอยอันจ้ะ เดินเล่น ดื่มด่ำ บรรยากาศกันให้เต็มที่

แล้วทุกคนจะพูดคำนี้จนติดปาก...."ฮอยอัน....ฉันรักเธอ"
มรดกโลก เวียตนามกลาง  ฮอยอัน~เว้~หมี่เซิน~ดานัง~บานาฮิลล์


1) สะพานญี่ปุ่น สัญลักษณ์เมืองฮอยอัน
2) ถนนเล็กๆในเมือง ที่เต็มไปด้วยบ้านโบราณสีเหลือง
3-4) บรรยากาศยามเย็นและค่ำ ริมฝั่งแม่น้ำทูโบน
ช่วงเวลาที่ฮอยอันน่ารัก น่าหลงใหลที่สุด
5) ร้านขายโคมไฟ ที่คอยแต่งแต้มสีสันให้ฮอยอันยามค่ำคืน


วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บุคลากรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

วิสัยทัศน์/ปรัชญาโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม


วิสัยทัศน์โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม (Vision)
วิสัยทัศน์โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม (Vision)
   โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งมั่นจัดการศึกษาพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนตามมาตรฐานสากลภายในปี 2557
 ปรัชญา
ปรัชญาโรงเรียน
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญา  คือ  แสงสว่างในโลก
 คำขวัญ
คำขวัญโรงเรียน
 เรียนดี  มีวินัย   ใฝ่คุณธรรม
 อักษรย่อ
อักษรย่อโรงเรียน

ก.ภ.ว.

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อัตลักษณ์ (Identities) เอกลักษณ์ (Uniqueness) ตราสัญลักษณ์


อัตลักษณ์ (Identities)

 เทคโนโลยีก้าวหน้า สวนป่าร่มรื่น ฟื้นฟูผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พากเพียรทำความดี
เอกลักษณ์ (Uniqueness)

ตราสัญลักษณ์


ประวัติโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม


กว่าจะมาเป็นโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม
 
 


                โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม  ตั้งขึ้นเมื่อวันที่  20  พฤษภาคม  พ.ศ.  2523  เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา  เมื่อแรกตั้งสังกัดกรมสามัญศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ 
          ปัจจุบันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 (ศรีสะเกษ-ยโสธร)  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักเรียนแบบสหศึกษา รับนักเรียนทั้งชายและหญิง  มีเนื้อที่ 73 ไร่ 2 งาน สถานที่ตั้ง เลขที่ 170 หมู่ 8 ถนนศรีสะเกษ–อุบลตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง
จังหวัดศรีสะเกษ33000
          ชื่อโรงเรียน “ไกรภักดีวิทยาคม” ตั้งชื่อตามนามของเจ้าเมืองซึ่งปกครองจังหวัดศรีสะเกษคนแรกคือ “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน”  จึงเป็นที่มาของชื่อ “โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม” เมื่อเริ่มเปิดทำการเรียน
การสอนภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2523  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีครู 6 คน  นักเรียน 80 คนและนักการภารโรง 1 คนได้ขอใช้อาคารเรียนของโรงเรียนหนองตะมะเป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน
ต่อมาในปีการศึกษา 2523 ภาคเรียนที่ จึงสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังแรกและทำการเรียนการสอนในพื้นที่โรงเรียนไกรภักดีวิทยาคมจนถึงปัจจุบัน
ปีการศึกษา 2555
                   · ครู  จำนวน  43   คน
                   ·พนักงานราชการ   จำนวน   1   คน (ครูธุรการ/เงินงบประมาณ)
                   · ครูจ้างสอน จำนวน 6 คน (เงินนอกงบประมาณ วิทย์ฯ/คณิตฯ/นาฏศิลป์/ดนตรี/พลานามัย/จีน)
                   · ครูอาสาสมัครชาวจีน  จำนวน  คน
                   ·ลูกจ้างประจำ  จำนวน  3  คน(ช่างปูน 1 คน ช่างไม้ 2 คน)
                   ·ลูกจ้างชั่วคราว  จำนวน  คน (ช่วยงานพัสดุ 1 คน/แม่บ้าน 2 คน)
                   ·นักศึกษาฝึกสอน  จำนวน 3คน
(กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี/งานเกษตร 1 คน,คอมพิวเตอร์ 2 คน/ม.ราชภัฏศรีสะเกษ)
                   · นักเรียน  จำนวน  603  คน (ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2555)
                   · ห้องเรียนจำนวน  17  ห้องเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  8  ห้องมัธยมศึกษาตอนปลาย  9 ห้อง
ปีการศึกษา 2556
                   · ครู  จำนวน  41คน
                   ·พนักงานราชการ  จำนวน   1   คน (ครูธุรการ/เงินงบประมาณ)
                   · ครูจ้างสอน จำนวน 7คน (เงินนอกงบประมาณ วิทย์ฯ/คณิตฯ/นาฏศิลป์/ดนตรี/พลานามัย/จีน)
                   · ครูอาสาสมัครชาวจีน  จำนวน  คน
                   ·ลูกจ้างประจำ  จำนวน  3  คน(ช่างปูน 1 คน ช่างไม้ 2 คน)
                   ·ลูกจ้างชั่วคราว  จำนวน  คน (ช่วยงานพัสดุ 1 คน/แม่บ้าน 2 คน)
                   ·นักศึกษาฝึกสอน  จำนวน 9คน
(กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี งานคอมพิวเตอร์ 3 คน
                   กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3 คน
/ม.ราชภัฏศรีสะเกษ และกลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา
                    3 คน/สถาบันพละศึกษาศรีสะเกษ)
                   · นักเรียน  จำนวน  637  คน (ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2556)

http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRgVHfRDJ74py0Rgb0pl87JO9xlVHjLEBGTC7iPdwom56Z7nJK5aQhttp://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRgVHfRDJ74py0Rgb0pl87JO9xlVHjLEBGTC7iPdwom56Z7nJK5aQ                   · ห้องเรียน จำนวน 17 ห้องเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น7 ห้องมัธยมศึกษาตอนปลาย  10 ห้อง